วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 16

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 27 กันยายน พ.ศ.2556

          ครั้งที่ 16 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

          สัปดาห์นี้เป็นชั่วโมงสุดท้ายของการเรียน อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาทุกคนทำ My Mapping สรุปความรู้ทั้งหมดที่ได้จากการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


My Mapping สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน


ความรู้ที่ได้จากเนื้อหา
     สิ่งที่ได้เรียนรู้มาทั้งหมด เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีและถูกต้อง เป็นผลดีต่อตัวเราและนักเรียนในวันข้างหน้า

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 15

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 20 กันยายน พ.ศ.2556

          ครั้งที่ 15 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

          อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาทุกคนดูวีดีโอเกี่ยวกับการศึกษาทางด้านภาษาธรรมชาติของ โรงเรียนวัดนางนอง
แผนการสอน สามารถดาวน์โหลดได้ คลิ๊กที่นี่

ความรู้เพิ่มเติม แนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
        การจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากสิ่งที่มีความหมายในชีวิตประจำวัน โดยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ภาษาในการสื่อสาร เช่น การถามตอบแบบง่ายๆ การเล่านิทาน การช่วยกันแต่งนิทาน การแสดงบทบาทสมมติ เป็นต้น โดยมีครูเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาให้เด็กพัฒนาทักษะทางภาษาทั้งในด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน และกระตุ้นให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครู ในบรรยากาศที่อบอุ่น
      ซึ่งการจัดประสบกาณ์นี้ จะทำให้เด็กซึมซับ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ตามลำดับขั้นของการพัฒนาทักษะทางภาษา
       กิจกรรมการเล่นเสรี
  • มุมบ้าน
  • มุมบล็อก
  • มุมคณิตศาสตร์
  • มุมวิทยาศาสตร์
  • มุมศิลปะ
  • มุมหนังสือ

     หลังจากดูจบแล้วอาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม "การเขียนแผนการสอน" โดยแบ่งกลุ่มละ 5 คน 
          ตัวอย่าง   การเขียนแผนการสอน
  • ชื่อ
  • จุดประสงค์
  • สาระ      (1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก 2.บุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก 3.ธรรมชาติรอบตัว 4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก)
  • ขัั้นตอน
  • สื่อ
  • ประเมิน

        ซึ่งกลุ่มของดิฉันทำแผนจัดประสบการณ์ "เรื่อง มะพร้าว"
  • ชื่อ     มะพร้าวมหัศจรรย์
  • จุดประสงค์ - เพื่อให้เด็กรู้จักประโยชน์ - ให้เด็กนำมะพร้าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์
  • สาระ     สิ่งรอบตัวเด็ก
  • ขั้นตอน     - ให้เด็กจับคู่ภาพเหมือนมะพร้าว โดยการสังเกตภาพที่เหมือนกัน จากสี รูปทรง ต่างๆ - เมื่อเด็กสามารถบอกหรือจับคู่ภาพเหมือนมะพร้าวได้ก็ให้เด็กมาใส่บล็อก
  • ขั้นสรุป     เด็กสามารถสังเกตภาพเหมือนของมะพร้าวได้ เด็กรู้จักรูปทรง ลักษณะ สี และสามารถบอกได้
  • ประเมิน     ใช้การสังเกต และแบบประเมิน


การนำเสนอ แผนจัดประสบการณ์ "เรื่อง มะพร้าว"


เพลง มะพร้าว


ความรู้ที่ได้จากเนื้อหา
     ได้เรียนรู้แนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติของโรงเรียนอื่นๆ เทคนิคในการสอนว่าทำอย่างไรเด็กถึงจะสนใจ และกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ การทำกิจกรรม "การเขียนแผนการสอน" ช่วยให้ตัวเราเรียนรู้ในการเขียนแผนการสอนที่ถูกต้อง ได้คำชี้แนะจากอาจารย์ในสิ่งที่เราเขียนไม่ถูกต้อง ทำให้เรามีประสบการณ์มากขึ้น และนำไปใช้อย่างถูกต้องในวันข้างหน้า

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 14

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 13 กันยายน พ.ศ.2556

          ครั้งที่ 14 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

        สัปดาห์นี้อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาดูภาพเกี่ยวกับการจุดมุมต่างๆ หลังจากนั้นให้นักศึกษาทุกคนแบ่งกลุ่มเท่าๆกัน ให้แต่ละกลุ่มออกแบบมุมการศึกษาที่มีความเกี่ยวข้อง



ความรู้ที่ได้จากเนื้อหา
     รู้จักวิธีหรือแนวทางในการจัดมุมมากขึ้น การใช้ความคิดสร้างสรรค์

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 13

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 6 กันยายน พ.ศ.2556

          ครั้งที่ 13 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

               สัปดาห์นี้อาจารย์โบว์สอนเรื่อง "การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย"

  • สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม
  • เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา
          หลักการ
  • สอดคล้องกับวืธีการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กสำรวจ ปฏิบัติจริงเป็นกระทำด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระได้สังเกตและตั้งสมมุติฐาน
  • สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆ โดยคำนึงถึงความหมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยกรณ์
  • สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจา และไม่ใช่วาจา
          มุมประสบการณ์
  • มุมหนังสือ
  • มุมบทบาทสมมติ
  • มุมศิลปะ
  • มุมเกมการศึกษา
  • ฯลฯ
          ลักษณะของมุม
  • มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
  • เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
  • บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ดินสอ สี กระดาษ กรรไกร กาว
  • เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน ออกแบบ
          มุมหนังสือ
  • มีชั้นวางหนังสือประเภทต่างๆ
  • มีบรรยากาศที่สงบ และอบอุ่น
  • มีพื้นที่ในการอ่านลำพัง และเป็นกลุ่ม
  • มีอุปกรณ์สำหรับการเขียน
          มุมบทบาทสมมติ
  • มีสื่ออุปกรณ์ที่สามารถให้เด็กเข้าไปเล่นได้
  • มีพื้นที่ที่เพียงพอ
          มุมศิลปะ
  • จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น สีเมจิก ดินสอ ยางลบ ตรายาง ซองจดหมาย ฯลฯ
  • กรรไกร กาว สำหรับงานตัดและปะติด
  • มีพื้นที่ให้เด็กทำกิจกรรม
          มุมดนตรี
  • มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของเล่นและของจริง เช่น กลอง ฉิ่ง ระนาด ขลุ่ย กรับ เครื่องเคาะจังหวะ
          สื่อสนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
  • สื่อของจริง
  • สิ่งของจำลอง
  • ภาพถ่าย
  • ภาพโครงร่าง
  • สัญลักษณ์
          เมื่อสอนเนื้อหาจบแล้วอาจารย์โบว์ให้นักศึกษาทุกคนทำกิจกรรม คัดลายมือ ก-ฮ ให้เหมือนกับตัวอย่างของอาจารย์ ซึ่งภาพด้านล่างนี้เป็นการคัดลายมือของดิฉัน
คัดลายมือ ก-ฮ

ความรู้ที่ได้จากเนื้อหา
          ได้ความรู้เพิ่มเติม เทคนิคในการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย และกิจกรรมการคัดลายมือยังช่วยให้ดิฉันรู้หลักในการเขียนพยัญชนะไทยที่ถูกต้อง และสวยงาม เพื่อที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรัับเด็ก ยังช่วยให้ตัวเราฝึกฝน พัฒนาลายมืออีกด้วย