วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 16

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 27 กันยายน พ.ศ.2556

          ครั้งที่ 16 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

          สัปดาห์นี้เป็นชั่วโมงสุดท้ายของการเรียน อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาทุกคนทำ My Mapping สรุปความรู้ทั้งหมดที่ได้จากการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย


My Mapping สรุปความรู้ที่ได้จากการเรียน


ความรู้ที่ได้จากเนื้อหา
     สิ่งที่ได้เรียนรู้มาทั้งหมด เป็นประสบการณ์การเรียนรู้ที่ดีและถูกต้อง เป็นผลดีต่อตัวเราและนักเรียนในวันข้างหน้า

วันศุกร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 15

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 20 กันยายน พ.ศ.2556

          ครั้งที่ 15 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

          อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาทุกคนดูวีดีโอเกี่ยวกับการศึกษาทางด้านภาษาธรรมชาติของ โรงเรียนวัดนางนอง
แผนการสอน สามารถดาวน์โหลดได้ คลิ๊กที่นี่

ความรู้เพิ่มเติม แนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติ
        การจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ภาษาจากสิ่งที่มีความหมายในชีวิตประจำวัน โดยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนเพื่อเปิดโอกาสให้เด็กได้ใช้ภาษาในการสื่อสาร เช่น การถามตอบแบบง่ายๆ การเล่านิทาน การช่วยกันแต่งนิทาน การแสดงบทบาทสมมติ เป็นต้น โดยมีครูเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาให้เด็กพัฒนาทักษะทางภาษาทั้งในด้านการฟัง พูด อ่าน และเขียน และกระตุ้นให้เด็กได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนและครู ในบรรยากาศที่อบอุ่น
      ซึ่งการจัดประสบกาณ์นี้ จะทำให้เด็กซึมซับ การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน ตามลำดับขั้นของการพัฒนาทักษะทางภาษา
       กิจกรรมการเล่นเสรี
  • มุมบ้าน
  • มุมบล็อก
  • มุมคณิตศาสตร์
  • มุมวิทยาศาสตร์
  • มุมศิลปะ
  • มุมหนังสือ

     หลังจากดูจบแล้วอาจารย์ให้นักศึกษาทำกิจกรรม "การเขียนแผนการสอน" โดยแบ่งกลุ่มละ 5 คน 
          ตัวอย่าง   การเขียนแผนการสอน
  • ชื่อ
  • จุดประสงค์
  • สาระ      (1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก 2.บุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก 3.ธรรมชาติรอบตัว 4.สิ่งต่างๆรอบตัวเด็ก)
  • ขัั้นตอน
  • สื่อ
  • ประเมิน

        ซึ่งกลุ่มของดิฉันทำแผนจัดประสบการณ์ "เรื่อง มะพร้าว"
  • ชื่อ     มะพร้าวมหัศจรรย์
  • จุดประสงค์ - เพื่อให้เด็กรู้จักประโยชน์ - ให้เด็กนำมะพร้าวไปใช้ให้เกิดประโยชน์
  • สาระ     สิ่งรอบตัวเด็ก
  • ขั้นตอน     - ให้เด็กจับคู่ภาพเหมือนมะพร้าว โดยการสังเกตภาพที่เหมือนกัน จากสี รูปทรง ต่างๆ - เมื่อเด็กสามารถบอกหรือจับคู่ภาพเหมือนมะพร้าวได้ก็ให้เด็กมาใส่บล็อก
  • ขั้นสรุป     เด็กสามารถสังเกตภาพเหมือนของมะพร้าวได้ เด็กรู้จักรูปทรง ลักษณะ สี และสามารถบอกได้
  • ประเมิน     ใช้การสังเกต และแบบประเมิน


การนำเสนอ แผนจัดประสบการณ์ "เรื่อง มะพร้าว"


เพลง มะพร้าว


ความรู้ที่ได้จากเนื้อหา
     ได้เรียนรู้แนวการสอนภาษาแบบธรรมชาติของโรงเรียนอื่นๆ เทคนิคในการสอนว่าทำอย่างไรเด็กถึงจะสนใจ และกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้ การทำกิจกรรม "การเขียนแผนการสอน" ช่วยให้ตัวเราเรียนรู้ในการเขียนแผนการสอนที่ถูกต้อง ได้คำชี้แนะจากอาจารย์ในสิ่งที่เราเขียนไม่ถูกต้อง ทำให้เรามีประสบการณ์มากขึ้น และนำไปใช้อย่างถูกต้องในวันข้างหน้า

วันศุกร์ที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 14

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 13 กันยายน พ.ศ.2556

          ครั้งที่ 14 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

        สัปดาห์นี้อาจารย์โบว์ให้นักศึกษาดูภาพเกี่ยวกับการจุดมุมต่างๆ หลังจากนั้นให้นักศึกษาทุกคนแบ่งกลุ่มเท่าๆกัน ให้แต่ละกลุ่มออกแบบมุมการศึกษาที่มีความเกี่ยวข้อง



ความรู้ที่ได้จากเนื้อหา
     รู้จักวิธีหรือแนวทางในการจัดมุมมากขึ้น การใช้ความคิดสร้างสรรค์

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 13

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 6 กันยายน พ.ศ.2556

          ครั้งที่ 13 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

               สัปดาห์นี้อาจารย์โบว์สอนเรื่อง "การจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย"

  • สร้างสภาพแวดล้อมให้เด็กคุ้นเคยกับการใช้ภาษาอย่างมีความหมายและเป็นองค์รวม
  • เด็กได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษา
          หลักการ
  • สอดคล้องกับวืธีการเรียนรู้ของเด็ก ส่งเสริมให้เด็กสำรวจ ปฏิบัติจริงเป็นกระทำด้วยตนเอง เปิดโอกาสให้เด็กเป็นอิสระได้สังเกตและตั้งสมมุติฐาน
  • สิ่งแวดล้อมที่เน้นความหมายมากกว่ารูปแบบ ควรยอมรับการสื่อสารของเด็กในรูปแบบต่างๆ โดยคำนึงถึงความหมายที่เด็กต้องการสื่อมากกว่าความถูกต้องทางไวยกรณ์
  • สิ่งแวดล้อมที่ประกอบด้วยความหลากหลายทั้งด้านวาจา และไม่ใช่วาจา
          มุมประสบการณ์
  • มุมหนังสือ
  • มุมบทบาทสมมติ
  • มุมศิลปะ
  • มุมเกมการศึกษา
  • ฯลฯ
          ลักษณะของมุม
  • มีพื้นที่ให้เด็กสามารถทำกิจกรรมได้
  • เด็กรู้สึกผ่อนคลายเมื่ออยู่ในมุม
  • บริเวณใกล้ๆมีอุปกรณ์เครื่องเขียน เช่น ดินสอ สี กระดาษ กรรไกร กาว
  • เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน ออกแบบ
          มุมหนังสือ
  • มีชั้นวางหนังสือประเภทต่างๆ
  • มีบรรยากาศที่สงบ และอบอุ่น
  • มีพื้นที่ในการอ่านลำพัง และเป็นกลุ่ม
  • มีอุปกรณ์สำหรับการเขียน
          มุมบทบาทสมมติ
  • มีสื่ออุปกรณ์ที่สามารถให้เด็กเข้าไปเล่นได้
  • มีพื้นที่ที่เพียงพอ
          มุมศิลปะ
  • จัดอุปกรณ์ที่หลากหลาย เช่น สีเมจิก ดินสอ ยางลบ ตรายาง ซองจดหมาย ฯลฯ
  • กรรไกร กาว สำหรับงานตัดและปะติด
  • มีพื้นที่ให้เด็กทำกิจกรรม
          มุมดนตรี
  • มีเครื่องดนตรีทั้งที่เป็นของเล่นและของจริง เช่น กลอง ฉิ่ง ระนาด ขลุ่ย กรับ เครื่องเคาะจังหวะ
          สื่อสนับสนุนการเรียนรู้และสาระทักษะทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
  • สื่อของจริง
  • สิ่งของจำลอง
  • ภาพถ่าย
  • ภาพโครงร่าง
  • สัญลักษณ์
          เมื่อสอนเนื้อหาจบแล้วอาจารย์โบว์ให้นักศึกษาทุกคนทำกิจกรรม คัดลายมือ ก-ฮ ให้เหมือนกับตัวอย่างของอาจารย์ ซึ่งภาพด้านล่างนี้เป็นการคัดลายมือของดิฉัน
คัดลายมือ ก-ฮ

ความรู้ที่ได้จากเนื้อหา
          ได้ความรู้เพิ่มเติม เทคนิคในการจัดสภาพแวดล้อมเพื่อสร้างประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย และกิจกรรมการคัดลายมือยังช่วยให้ดิฉันรู้หลักในการเขียนพยัญชนะไทยที่ถูกต้อง และสวยงาม เพื่อที่จะเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรัับเด็ก ยังช่วยให้ตัวเราฝึกฝน พัฒนาลายมืออีกด้วย

วันศุกร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 12

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 30 สิงหาคม พ.ศ.2556

          ครั้งที่ 12 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2



                อาจารย์โบว์พานักศึกษาทำกิจกรรมเต้นประกอบจังหวะกับเพลงก่อนเริ่มสอนเข้าเนื้อหา สัปดาห์นี้อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มละ 6คน จากนั้นอาจารย์แจกกระดาษกลุ่มละ 1แผ่น และอธิบายงานให้แต่ละกลุ่มคิดกิจกรรม เกมประกอบการสอนที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา 1เกม แล้วบอกวิธีการเล่นพร้อมเขียนว่าตรงกับนักทฤษฎีคนไหน และประโยชน์ที่เด็กจะได้รับจากเกมนี้ 
               ซึ่งกลุ่มของดิฉัน เลือก เกม ถอดรหัสคำ เป็นกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาการทางด้านภาษา


เกมถอดรหัสคำ

          จากภาพด้านบน ซ้ายมือ
     1. ปาก กา
     2. ปลา ดาว
     3. รถ ไฟ
     4. ผี เสื้อ
     
     5. ถุง เท้า

          จากภาพด้านบน ขวามือ
     วิธีการเล่น
          ให้เด็กดูรูปที่ 1 และรูปที่ 2 มารวมกัน และให้บอกว่าภาพ ภาพนั้นเมื่อนำมารวมกันแล้ว คือคำว่าอะไร โดยใช้ภาพเป็นสื่อในการคิดและจินตนาการ
     นักทฤษฎี ตรงกับแนวคิดของบรูเนอร์
          บรูเนอร์เป็นนักจิตวิทยาที่สนใจศึกษาเรื่องของพัฒนาการทางด้านสติปัญญาต่อเนื่อง บรูเนอร์เชื่อว่ามนุษย์เลือกที่จะรับรู้สิ่งที่ตนเองสนใจและการเรียนรู้เกิดจากกระบวนการค้นหาด้วยตัวเอง
     ตัวอย่าง
          ทฤษฎีการทางด้านสติปัญญาของมนุษย์ 

  •    ขั้นการเรียนรู้จากความคิด เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้

     ประโยชน์ที่เด็กได้รับ
          1. เด็กสามารถจินตนาการภาพที่เห็นว่าเป็นภาพอะไร และรูปที่เห็นเมื่อนำมารวมกันสามารถเกิดคำและความหมายใหม่ขึ้น
          2. เด็กได้รับอิสระในการคิด การจินตนาการ
          3. เด็กจะได้เรียนรู้ รู้จักคำศัพท์ใหม่ๆ มากขึ้น จากการนำภาพมารวมกัน

          เมื่อทุกกลุ่มทำเกมเสร็จแล้วอาจารย์โบว์ให้แต่ละกลุ่ม (สมาชิกทุกคน) ออกมานำเสนอเกมของกลุ่มตัวเอง พร้อมเสริมกิจกรรมการเต้นประกอบจังหวะกับเพลง ก่อนนำเสนอด้วย
          กลุ่มของดิฉันนำเสนอเป็นกลุ่มที่ 2 ก่อนเข้าเนื้อหากลุ่มดิฉันชวนเพื่อนๆในห้องเต้นเพลง อู๊ด อู๊ด หมูอ้วน

          เพลง อู๊ด อู๊ด หมูอ้วน
                    *อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด อู๊ด
                    อู๊ด อู๊ด เป็นเสียงของหมู
                    หมูอ้วนต้องมีมัน เป็นอาหารได้หลายหมู่
                    หมูย่าง หมูทอด หมูหัน แต่ตัวฉันไม่ใช่หมู
                    (ซ้ำ *)




ความรู้ที่ได้จากเนื้อหา
     ทำให้เรารู้จักคิด เทคนิคการทำสื่อเกี่ยวกับพัฒนาการทางภาษา และเรียนรู้การนำเสนอที่น่าสนใจ การวางตัว บุคลิกภาพที่ดี 

วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 11

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 23 สิงหาคม พ.ศ.2556

          ครั้งที่ 11 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2


          สัปดาห์นี้อาจารย์โบว์เข้าสอน ต้นชั่วโมงอาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนดูรูปภาพต่อไปนี้ว่ามันคืออะไร


          จากนั้นอาจารย์สอนความรู้เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ทางภาษา
          ความหมาย
  • วัสดุ อุปกรณ์ หรือ วิธีการต่างๆ
  • เพื่อกระตุ้น ส่งเสริม จูงใจ ให้เด็กเกิดความสนใจ
  • ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้ทางภาษา
  • เครื่องมือที่ครูกำหนดขึ้น เพื่อถ่ายทอดแลกเปลี่ยนเนื้อหา ประสบการณ์ แนวคิด ทักษะ เจตคติ
          ความสำคัญของสื่อการเรียนรู่้ทางภาษา
  • เด็กเรียนรู้ได้ดีจากประสาทสัมผัส
  • เข้าใจได้ง่าย
  • เป็นรูปธรรม
  • จำได้ง่าย เร็ว และ นาน
  1. สื่อสิ่งพิมพ์
  • สื่อที่ใช้ระบบการพิมพ์
  • เด็กได้เรียนรู้ตัวอักษร การใช้คำ ประโยค
  • หนังสือนิทาน หนังสือพิมพ์ แผ่นพับ นิตยสาร แบบฝึกหัด พจนานุกรม       

  2.  สื่อวัสดุอุปกรณ์

  • สิ่งของต่างๆ
  • ของจริง หุ่นจำลอง แผนที่ แผนภูมิ ตารางสถิติ กราฟ สมุดภาพ หุ่นมือ
   3. สื่อโสตทัศนูปกรณ์
  • สื่อที่นำเสนอด้วยเครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆ
  • คอมพิวเตอร์ เครื่องเล่นแผ่น
   4. สื่อกิจกรรม
  • วิธีการที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติ ทักษะ
  • ใช้กระบวนการคิด การปฏิบัติ การเผชิญสถานการณ์
  • เกม เพลง การสาธิต สถานการณ์จำลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงาน ทัศนศึกษา
   5. สื่อบริบท
  • สื่อที่ส่งเสริมการจัดประสบการณ์
  • สภาพแวดล้อม
  • ห้องเรียน บุคคล ชุมชน วัฒนธรรม
          หลังจากเรียนเสร็จอาจารย์โบว์ให้นักศึกษาทำสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทางด้านภาษา ซึ่งดิฉันเลือกทำนก = Bird มีวิธีทำตามรูปภาพด้านล่างดังนี้

   ภาพที่ 1. พับครึ่งกระดาษ A4
   ภาพที่ 2. วัดกระดาษ และพับออกไปอีกด้านไม่ต้องเยอะมาก
   ภาพที่ 3. อีกด้านทำเหมือนข้อที่ 2
   ภาพที่ 4. พับได้ทั้งสองด้านแล้วจะได้ดังภาพ (เพื่อให้มั่นใจว่าได้มาตราฐาน ควรลองตั้งว่ากระดาษที่พับล้มหรือไม่) 


   ภาพที่ 5. เมื่อพับกระดาษได้ตามที่ต้องการแล้ว วาดภาพรูป (รูปอะไรก็ได้ที่เราต้องการ) ส่วนดิฉันวาดรูปนก
   ภาพที่ 6. เมื่อวาดรูปนกเสร็จแล้ว ตัดขอบด้วยปากกาเมจิกสีดำ เพื่อให้ภาพมีความชัดเจนมากขึ้น
   ภาพที่ 7. ตกแต่งระบายสีให้สวยงาม และทำการตัด
   ภาพที่ 8. ตัดออกมากระดาษอีกด้านก็จะได้รูปทรงลักษณะเหมือนกัน เราก็ทำการวาดแบบเดิม
   ภาพที่ 9. ตกแต่งระบายสีให้สวยงาม
   ภาพที่ 10. เมื่อระบายสีเสร็จทั้งสองฝั่ง ก็จะได้ออกมาดังภาพ


ขั้นตอนสุดท้าย ทำการติดกาวตรงด้านหลังของรูปภาพเท่านั้น


เสร็จแล้วค่ะทุกคน เย้!!! ^__^



ความรู้ที่ได้จากเนื้อหา
     ได้ความรู้เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ทางภาษาทั้งเชิงวิชาการและในเชิงปฏิบัติ การทำสื่อนั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายด้าน เช่น นำไปเป็นที่วางทับกระดาษ หรือ จะเป็นสื่อในการสอนเด็กทางภาษา ตัวอย่าง รูป นก = BIRD (อ่านว่า เบิร์ด)

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 10

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 16 สิงหาคม พ.ศ.2556

          ครั้งที่ 10 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2


          สัปดาห์นี้อาจารย์จินตนาไม่ได้เข้าสอนเนื่องจากติดงาน อาจารย์จินตนาจึงให้อาจารย์โบว์เข้ามาสอนนักศึกษาทุกๆคนทำสื่อการเรียนการสอนสำหรับเด็กปฐมวัย โดยแบ่งกลุ่ม 4 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งมี 10 คน จากนั้นอาจารย์โบว์จึงสอนวิธีทำสื่อต่างๆ และแจกวัสดุอุปกรณ์ให้นักศึกษา 

          สื่อชิ้นแรก คือ หุ่นนิ้ว อาจารย์โบว์ให้ทุกกลุ่มทำเป็นตัวคนทั้ง 10 อาเซียน ยกเว้น ประเทศพม่า ไม่ต้องทำ



          สื่อชิ้นที่สอง คือ Pop Up ที่เคลื่อนไหว เนื่องจากเวลาเหลือน้อยอาจารย์โบว์จึงให้แต่ละกลุ่มแบ่งกันทำคนละครึ่งแล้วค่อยเอามารวมกัน ซึ่งกลุ่มของดิฉัน ทำ 4 ประเทศ 





ความรู้ที่ได้จากเนื้อหา
     รู้จักวิธีการสร้างสื่อแปลกใหม่ที่น่าสนใจในแนวสร้างสรรค์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ทำสื่อสอนเด็กในวันข้างหน้าได้

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 9

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 9 สิงหาคม พ.ศ.2556

          ครั้งที่ 9 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2

          อาจารย์เปิด Blogger ของนักศึกษาทุกคนและให้เพื่อนๆในห้องเสนอความคิดเห็นว่าของแต่ละคนมีข้อบกพร่องควรกลับไปปรับปรุงแก้ไขส่วนไหนบ้าง อาจารย์เสริมให้ใส่เนื้อหาเพิ่มเติมลงไป และเน้นควรมีวีดีโอ รูปภาพ ฯลฯ เมื่อตรวจ Bloggerครบทุกคนแล้วจากนั้นอาจารย์จึงสอนร้องเพลง

    เพลง สวัสดี (ประเทศไทย)
          สวัสดี  สวัสดี                    ยินดีที่พบกัน
          เธอและฉัน                       พบกันสวัสดี
    เพลสวัสดี (หนีห่าว:ประเทศสิงค์โปร)
          หนีห่าว หนีห่าว                  ยินดีที่พบกัน
          เธอและฉัน                       พบกันหนีห่าว
    เพลง สวัสดี (สะบายดี:ประเทศลาว)
          สะบายดี  สะบายดี              ยินดีที่พบกัน
          เธอและฉัน                       พบกันสะบายดี
    เพลง สวัสดี (มิงกะลาบา:ประเทศพม่า)
          มิงกะลาบา  มิงกะลาบา        ยินดีที่พบกัน
          เธอและฉัน                       พบกันมิงกะลาบา
    เพลง สวัสดี (กูมูสตา:ประเทศฟิลิปปินส์)
          กูมูสตา  กูมูสตา                  ยินดีที่พบกัน
          เธอและฉัน                        พบกันกูมูสตา
  เพลง สวัสดี (ซาลามัดดาตัง:ประเทศมาเลเซียและประเทศบรูไน)
          ซาลามัดดาตัง  ซาลามัดดาตัง   ยินดีที่พบกัน
          เธอและฉัน                          พบกันซาลามัดดาตัง
    เพลง สวัสดี (ซินจ้าว:ประเทศเวียดนาม)
          ซินจ้าว  ซินจ้าว                   ยินดีที่พบกัน
          เธอและฉัน                         พบกันซินจ้าว
    เพลง สวัสดี (จุมเรียบซัว:ประเทศกัมพูชา)
          จุมเรียบซัว จุมเรียบซัว            ยินดีที่พบกัน
          เธอและฉัน                         พบกันจุมเรียบซัว
    เพลง สวัสดี (เซลามัดปากิ:ประเทศอินโดนีเซีย)
          เซลามัดปากิ  เซลามัดปากิ      ยินดีที่พบกัน
          เธอและฉัน                         พบกันเซลามัดปากิ

    เพลง Hello (สวัสดี) ฟังเพลง คลิ๊ก
          Hello!                           Hello! How are you?
(แปล)  สวัสดี                           สวัสดี สบายดีหรือ
          I'm fine I'm fine              I hope that you are too.
(แปล)  ฉันสบายดี ฉันสบายดี        ฉันหวังว่าเธอคงจะสบายดี

     เพลง ตบแผละ
          ตบแผละ  ตบแผละ  ตบแผละ  
          ปากใจตรงกันนั้นแหละ
          เรามาลองฝึกกัน
          จิต  กาย  สัมพันธ์กับปากนั้นแหละ
          ในเพลงนี้อาจารย์ให้นักศึกษาจับคู่กับเพื่อนข้างๆ ร้องเพลงและตบมือให้เข้ากับจังหวะเพลง เพลงแบบนี้ใช้ในการสงบเด็กหรือควบคุมเด็กนั้นเอง

      เพลง บอกว่าน่ารักจัง
          บอกกับคนซ้ายมือ                ว่าน่ารักจัง
          บอกกับคนขวามือ                ว่าน่ารักจัง  (ซ้ำ 1 รอบ)
          บอกกับเพื่อนทุกคน              ทุกๆคน
          บอกกับเพื่อนทุกคน              ไม่เว้นสักคน
          บอกกับเพื่อนทุกคน              ทุกคน
          บอกว่าน่ารักจัง

      เพลง ตา หู จมูก 
          ตา  หู  จมูก  จับให้ถูก
          จับ  จมูก  ตา  หู
          จับใหม่จับให้ฉันดู  จับใหม่จับให้ฉันดู
          จับ  จมูก  ตา  หู
          จับ  หู  ตา  จมูก

      เพลง แปรงฟัน
          แปรง  ซิ  แปรง  แปรง  ฟัน
          ฟัน  หนู  สวย  สะอาด  ดี

     เพลง แมงมุมลายตัวนั้น
          แมงมุมลายตัวนั้น         ฉันเห็นมันซมซานเหลือทน
          วันหนึ่งมันเปียกฝน       ไหลลงจากบนหลังคา
          พระอาทิตย์ส่องแสง      ฝนแห้งเหือดไปลับตา
          มันรีบไต่ขึ้นฝา             หันหลังมาทำตาลุกวาว

      เพลง อย่าทิ้งต้องเก็บ
          อย่าทิ้ง  อย่าทิ้ง  อย่าทิ้ง   ทิ้งแล้วจะสกปรก
          ถ้าเราเห็นมันรก              ต้องเก็บ  ต้องเก็บ  ต้องเก็บ

      เพลง บ้านของฉัน
          บ้านของฉัน                   อยู่ด้วยกันมากหลาย
          คุณพ่อ  คุณแม่               ปู่  ย่า  ตา  ยาย
          อีกทั้งน้าอา                   พี่และน้องมากมาย
          ทุกคนสุขสบาย               เราเป็นพี่น้องกัน

      เพลง ขอบคุณ ขอบใจ
          เมื่อผู้ใหญ่ใจดีให้ของ 
          หนูหนูควรต้องนึกถึงพระคุณ 
          น้อมไหว้กล่าวคำขอบพระคุณ 
          เพื่อนมีใจเผื่อแผ่การุณ 
          นึกถึงบุญคุณกล่าวคำขอบใจ


      เพลง ตาดู หูฟัง
          เรามีตาไว้ดู เรามีหูไว้ฟัง
          คุณครูท่านสอนท่านสั่ง 
          เราตั้งใจฟัง เราตั้งใจดู

          อาจารย์สั่งงานก่อนหมดคาบเรียน 
             1.แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เลือกเพลงกล่อมลูกมา 1 เพลง พร้อมอัดวีดีโอขณะร้องใส่ลง Blogger
             2.ให้นักศึกษาเลือกเพลงที่ชอบมา 1 เพลง และนำมาแปลเพลงเป็นภาษาอื่นๆ ยกตัวอย่างเช่น เพลง สวัสดี ที่ดิฉันนำมาแปลเป็นคำทักทายภาษาต่างในประเทศอาเซียน
             3.ถอดรหัสคำ 

     การบ้าน 
  ดิฉันเลือก แปลเพลง  เพลง สวัสดี ขอบคุณ และขอโทษ       
   เพลง สวัสดี ขอบคุณ และขอโทษ (ประเทศไทย)ฟังเพลง คลิ๊ก!
            เมื่อเจอกันเราทักกันสวัสดี สวัสดีครับ/สวัสดีค่ะ 
            เมื่อผิดพลั้งขออภัยขอโทษที ขอโทษครับ/ขอโทษค่ะ
            เมื่อจากกันยกมือไหว้สวัสดี สวัสดีครับ/สวัสดีค่ะ 
            เมื่อใครมีจิตไมตรีขอขอบคุณ ขอบคุณครับ/ขอบคุณค่ะ



  เพลง สวัสดี ขอบคุณ และขอโทษ (ประเทศสิงคโปร์)
            เมื่อเจอกันเราทักกันหนีห่าว
            เมื่อผิดพลั้งขออภัยตุ้ยบู้ฉี่ 

            เมื่อจากกันยกมือไหว้
หนีห่าว
            เมื่อใครมีจิตไมตรีเซี่ย เซี่ย

  เพลง สวัสดี ขอบคุณ และขอโทษ (ประเทศลาว)
            เมื่อเจอกันเราทักกัน
สะบายดี 
สะบายดีครับ/สะบายดีค่ะ
            เมื่อผิดพลั้งขออภัยขอโทดที 
ขอโทดครับ/ขอโทดค่ะ
            เมื่อจากกันยกมือไหว้
สะบายดี สะบายดีครับ/สะบายดีค่ะ
            เมื่อใครมีจิตไมตรีขอขอบใจ ขอบใจครับ/ขอบใจค่ะ

  เพลง สวัสดี ขอบคุณ และขอโทษ (ประเทศพม่า)
            เมื่อเจอกันเราทักกันมิงกะลาบา
            เมื่อผิดพลั้งขออภัย
ควินโละ บ่าหน่อ
            เมื่อจากกันยกมือไหว้
มิงกะลาบา
            เมื่อใครมีจิตไมตรีเจซูติน บาแด

  เพลง สวัสดี ขอบคุณ และขอโทษ (ประเทศฟิลิปปินส์)
            เมื่อเจอกันเราทักกันกูมูสตา
            เมื่อผิดพลั้งขออภัย
มาวาลาง-กาลัง
            เมื่อจากกันยกมือไหว้
กูมูสตา
            เมื่อใครมีจิตไมตรีมารามิงสลามัต

  เพลง สวัสดี ขอบคุณ และขอโทษ (ประเทศมาเลเซีย,ประเทศบรูไน)
            เมื่อเจอกันเราทักกันซาลามัดดาตัง
            เมื่อผิดพลั้งขออภัย
มาอาฟ
            เมื่อจากกันยกมือไหว้
ซาลามัดดาตัง
            เมื่อใครมีจิตไมตรีเตริมา กะชิ

  เพลง สวัสดี ขอบคุณ และขอโทษ (ประเทศเวียดนาม)
            เมื่อเจอกันเราทักกันซินจ้าว
            เมื่อผิดพลั้งขออภัย
ซิน โหลย
            เมื่อจากกันยกมือไหว้
ซินจ้าว
            เมื่อใครมีจิตไมตรีตาม เบียด

  เพลง สวัสดี ขอบคุณ และขอโทษ (ประเทศกัมพูชา)
            เมื่อเจอกันเราทักกันจุมเรียบซัว
            เมื่อผิดพลั้งขออภัย
ขยมโซ้มโต๊ก
            เมื่อจากกันยกมือไหว้
จุมเรียบซัว
            เมื่อใครมีจิตไมตรีออกุน, ออกุนเจริญ

  เพลง สวัสดี ขอบคุณ และขอโทษ (ประเทศอินโดนีเซีย)
            เมื่อเจอกันเราทักกันเซลามัดปากิ
            เมื่อผิดพลั้งขออภัย
เปอ มิ สิ /นิ วา กัง
            เมื่อจากกันยกมือไหว้
เซลามัดปากิ
            เมื่อใครมีจิตไมตรีเตอร ริมา กาสิ/ มาตู สุค สมา

      ถอดรหัสคำ เพลง จับปูดำ
           จับปูดำ ขยำปูนา
           จับปูม้า คว้าปูทะเล
           เล่นกันเพลิน แล้วเชิญกันมา
           จับปูกันหนา เอาละวาสนุกจริง
           จับปูดำ ขยำปูนา
           จับปูม้า คว้าปูทะเล
           สนุกจริงเอย แล้วเลยนอนเปล
           โอ้ละเห่ นอนเปลหลับไป




เพลง จับปูดำ


ถอดรหัสคำ



ความรู้ที่ได้จากเนื้อหา
     เรียนรู้ภาษาของแต่ละประเทศในอาเซียนมากขึ้น และการถอดรหัสคำยังเพิ่มความรู้แปลกใหม่ให้กับตนเอง สามารถนำไปประยุกต์ทำสื่อสอนเด็กได้ 

วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 8

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 2 สิงหาคม พ.ศ.2556
          ครั้งที่ 8 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2


        ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากนักศึกษาทุกชั้นปีมีการสอบกลางภาคของทางมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

วันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกอนุทิน สัปดาห์ที่ 7

บันทึกอนุทิน


          วิชา การจัดประสบการณ์ทางภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย
          อาจารย์ผู้สอน อาจารย์จินตนา สุขสำราญ
          วัน/เดือน/ปี 26 กรกฎาคม พ.ศ.2556
          ครั้งที่ 7 กลุ่มเรียน 103 (วันศุกร์ ตอนเช้า)
          เวลาเข้าเรียน 08:30 – 12:30 น. ห้อง 234 อาคาร 2


       เมื่อสัปดาห์ที่ 5ที่อาจารย์จินตนาได้สั่งงานไว้ว่าให้นักศึกษาแต่ละคนไปค้นคว้าหาเพลงกล่อมเด็กมาคนละ 1เพลง สัปดาห์นี้อาจารย์จึงให้นักศึกษาออกมาร้องเพลงกล่อมเด็กที่ตนไปหามานั้นหน้าห้อง เนื่องจากดูท่าแล้วอาจใช้เวลาเยอะเกินไปอาจารย์จึงเปลี่ยนให้ตัวแทนออกไปร้องเพลงกล่อมเด็กเป็นภาคมี ภาคกลาง, ภาคใต้, ภาคเหนือ, ภาคอีสาน และจังหวัดสุรินทร์ (ภาษาเขมร) 
         ส่วนฉันเลือกเพลงจันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้าเพราะฟังจังหวะและทำนองแล้วให้ความรู้สึกผ่อนคลาย
เนื้อเพลง จันทร์เอ๋ย จันทร์เจ้า 
     จันทร์เอ๋ยจันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกง
     ขอแหวนทองแดง ผูกมือน้องข้า
     ขอช้างขอม้าให้น้องข้าขี่ ขอเก้าอี้ให้น้องข้านั่ง
     ขอเตียงตั่งให้น้องข้านอน ขอละครให้น้องข้าดู
     ขอยายชูเลี้ยงน้องข้าเถิด ขอยายเกิดเลี้ยงตัวข้าเอง


        อาจารย์ให้นักศึกษาจัดกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เลือกฝึกร้องเพลงกล่อมเด็ก 1เพลง และอาจารย์ได้อธิบายความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาการไว้ว่า



         พัฒนาการ คือ พฤติกรรมที่มีการเปลี่ยนแปลง ทำให้นึกถึงเด็กทารกแรกเกิด 1-2 ปี ช่วงวัยนี้เด็กจะมีการใช้ประสาทสัมผัสครบทั้ง 5คือ การได้ยิน การมองเห็น การลิ่มรส การได้กลิ่นและการสัมผัสเคลื่อนไหว

         พัฒนาการขั้นที่ 2 แบ่งเป็น 2 ช่วงอายุ
  • ช่วงอายุ 2-4 ปี ครึ่งทาง พัฒนาการช่วงนี้จะกว้าง ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง เด็กจะช่างถาม ช่างพูด (พัฒนาการทางด้านภาษา) เล่นจ๊ะเอ๋ก็สนุกเพราะเด็กจะคิดว่าหายไปแล้วจริงๆ และเด็กยังมีพัฒนาการเชิงเหตุผลอีกด้วย
  • ช่วงอายุ 4-6ปี พัฒนาการทางด้านภาษามีมากขึ้น พูดเป็นประโยคได้ยาวขึ้นและพัฒนาการเชิงเหตุผลดีมากขึ้น และยังมีพัฒนาการด้านอนุรักษ์อีกด้วย

    เด็กจะเรียนรู้และมีประสบการณ์ได้นั้นเด็กจะต้องมีปฏิสัมพันธ์ทางด้านสังคม

     หลังจากที่อาจารย์อธิบายเสร็จ อาจารย์ก็ได้เปิดเพลงเกาะสมุยให้นักศึกษาทุกคนฟัง และให้ทุกคนช่วยกันฟังจังหวะทำนองเพลง เนื้อเพลงว่าเขาพูดถึงอะไรบ้าง

  • จุดเด่น เกาะสมุยมีชื่อเสียงเป็นแหล่งปลูกต้นมะพร้าว หาดเชวงเป็นหาดที่มีชื่อเสียงที่สุดของเกาะสมุยมีความยาวประมาณ6 กม.หาดทรายขาวสะอาดส่วนหาดด้านทิศตะวันออกหินตาหินยายเป็นที่ตั้งปฏิมากรรมที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของเกาะสมุยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่นิยมมาถ่ายรูปมากที่สุด กีฬา“ชนควาย” บ้างก็เรียกว่า “ฟันควาย” เป็นกีฬาพื้นเมืองเฉพาะท้องถิ่นปัจจุบันไม่มีในพื้นที่ใดในภาคใต้ มีเพียงเฉพาะในพื้นที่ในเกาะสมุยเท่านั้น และผลไม้ที่ขึ้นชื่อคือ ลางสาดเพราะรสหวานคล้ายลองกอง มียางน้อย 
  • ภาษาคนที่อาศัยอยู่ที่เกาะสมุยพูดภาษาท้องถิ่น(ภาษาใต้)รวมถึงพูดภาษาอังกฤษเก่งกันทุกคน ไม่ว่าจะพนักงาน รวมไปถึงชาวบ้านธรรมดา
  • ฟังจังหวะเพื่อการสื่อสาร ฟังทำนองให้รู้สึกสนุก
  • ฟังเพลงเพื่อ สื่อถึงวัฒนธรรม ภาษาในเพลง สถานที่ ความภาคภูมิใจ
  • เป้าหมาย เพลงนี้นำมาใช้เพื่อเชิญชวนให้คนไปเที่ยวเกาะสมุย




          การนำไปใช้ในห้องเรียน การนำเพลงมาช่วยในการสอนก่อนเข้าสู่บทเรียน อยู่ในขั้นที่ 1ซึ่งมีทั้งหมด 3 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่1 นำเข้าสู่บทเรียน ขั้นที่2 ปฏิบัติการสอน ขั้นที่3 สรุป ฉะนั้นการนำเพลงมาเสริมช่วยให้เด็กเกิดความกระตือรือร้น สนใจที่จะเรียนรู้และยังพัฒนาการทางด้านภาษา

กิจกรรมท้ายชั่วโมง การทำหนังสือภาพ

          อาจารย์จินตนาแจกกระดาษ A4 ให้นักศึกษาคนละ 1 แผ่น วาดรูป และจัดกลุ่ม กลุ่มละ 5คน จากนั้นให้เลือกว่าในกลุ่มจะวาดอะไรให้สัมพันธ์กัน ซึ่งกลุ่มของดิฉัน เลือกวาดรูปสัตว์ต่างๆฉันวาดรูปภาพงูเห่า กิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมศิลปะเสริมสร้างให้เด็กมีประสบการณ์ และฝึกกล้ามเนื้อมือ

นำเสนอหนังสือภาพ เรื่อง ฉันคือ...อะไรเอ๋ย?




หนังสือภาพ "ฉันคือ...อะไรเอ่ย?"
ข้อควรระวัง เด็กๆควรระวังสัตว์ดุร้ายสัตว์มีพิษ เมื่อเจอก็ควรถอยออกห่างๆและบอกผู้ใหญ่นะค่ะ
ข้อควรระวัง (แก้ไข้ใหม่) ระวังสัตว์บางชนิดอาจทำร้ายได้
          อาจารย์จินตนาให้แก้ไขข้อควรระวังใหม่เนื่องจากอันเดิมยาวเกินไปให้ตั้งข้อควรระวังที่สั้นๆได้ใจความ
  
ความรู้ที่ได้จากเนื้อหา      
     ทักษะที่ได้ในวันนี้ คือ การคิด การวิเคราะห์ ความสามัคคีกันในกลุ่ม เมื่อแบ่งหน้าที่ให้แต่ละคน รู้จักการมีความรับผิดชอบ